ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559

มงคลที่ ๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร

มงคลที่ ๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร

ถิ่นอันสมควรควรประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม ๔ อย่างได้แก่

๑.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึงอยู่แล้วสบาย เช่นสะอาด เดินทางไปมาสะดวก อากาศดี เป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุขเป็นต้น

๒.อาหารเป็นที่สบาย หมายถึงอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เช่นมีแหล่งอาหารที่สามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นต้น

๓.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึงที่ที่มีคนดี จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีศีลธรรม ไม่มีโจร นักเลง หรือใกล้แหล่งอิทธิพลเป็นต้น



๔.ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึงมีที่พึ่งด้านธรรมะ มีที่ฟังธรรมเช่น มีวัดอยู่ในละแวกนั้น มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้เป็นต้น

อินบล็อกเฟสบุ๊ค https://web.facebook.com/chaiyasertkingpech
เพจเฟสบุ๊ค https://web.facebook.com/chaiyasertkingpech9
    
เว็บบล๊อค: http://chaiyasertkingpech.blogspot.com/

ไอดี line: worayano

มงคลที่ ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

มงคลที่ ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

ารบูชา คือการแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือ ยกย่อง เลื่อมใสในบุคคลคนนั้น ซึ่งการบูชาแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ

๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของเช่น การนำเงินให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่าย หรือมอบทรัพย์สินให้พ่อแม่ หรือการนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาพระก็ถือเป็นอามิสบูชาเป้นต้น

๒.ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การฝึกจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลกเป็นต้น

บุคคลที่ควรบูชา มีดังนี้คือ

๑.พระพุทธเจ้า (คงไม่ต้องอธิบาย)
๒.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
๓.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม
๔.บิดามารดา
๕.ครูอาจารย์ ที่มีความรู้ดี มีความสามารถ และประพฤติดี
๖.อุปัชฌาย์ หรือผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม

มงคลที่ ๒ : การคบบัณฑิต

มงคลที่ ๒ : การคบบัณฑิต
บัณฑิต หมายถึงผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจที่งาม 
และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้ดีรู้ชั่ว (ไม่ใช่คนที่จบปริญญาโดยนัย) มีลักษณะดังนี้คือ

๑. เป็นคนคิดดี คือการไม่คิดละโมบ ไม่พยาบาทปองร้ายใคร รู้จักให้อภัย เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความกตัญญูรู้คุณเป็นต้น

๒. เป็นคนพูดดี คือวจีสุจริต พูดจริง ทำจริงไม่โกหก ไม่พูดหยาบ ถากถาง นินทาว่าร้าย

๓. เป็นคนทำดี คือทำอาชีพสุจริต มีเมตตา ทำทานเป็นปกตินิสัย อยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิภาวนา


รูปแบบของบัณฑิต มีข้อควรสังเกตุคือ

๑. ชอบชักนำในทางที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการชักนำให้เลิกทำในสิ่งที่ผิด ตักเตือนให้ทำความดีอย่างเช่น ให้เลิกเล่นการพนันเป็นต้น

๒. ชอบทำในสิ่งที่เป็นธุระ อาทิเช่นการทำหน้าที่ของตนให้ลุล่วง และใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ไม่ก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่นเว้นแต่จะได้รับการร้องขอ

๓. ชอบทำและแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการพูดและทำอย่างตรงไปตรงมา แนะนำการทำทานที่ถูกต้อง ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น

๔. รับฟังดี ไม่โกรธ อาทิเช่นเมื่อมีคนมาว่ากล่าวก็ไม่ถือโทษ หรือโกรธ หรือทำอวดดี แต่จะรับฟังแล้วนำไปพิจารณาโดยยุติธรรม แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุง


๕. รู้ระเบียบ กฏกติกามรรยาทที่ดี อาทิเช่นการรักษาระเบียบวินัยขององค์กร เพื่อให้หมู่คณะมีความเป็นระเบียบ และการดำเนินงานไม่สับสน หรือการรักษาความสะอาด ปฏิบัติ และเคารพกฏของสถานที่ ไม่ทำตามอำเภอใจ

มงคลที่ 1 ไม่คบคนพาล

มงคลที่ 1 ไม่คบคนพาล
ท่านว่าลักษณะของคนพาลมี ๓ ประการคือ

   ๑. คิดชั่ว คือการมีจิตคิดอยากได้ในทางทุจริต มีความพยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ คือเห็นผิดเป็นชอบ

   ๒. พูดชั่ว คือคำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริตเช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ

   ๓. ทำชั่ว คือทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริตเช่น การฆ่าสัตว์ ลักขโมย ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร ประพฤติผิดในกาม

รูปแบบของคนพาล มีข้อควรสังเกตุคือ

   ๑. ชอบแนะนำไปในทางที่ผิด หรือที่ไม่ควรแนะนำ อาทิเช่น แนะนำให้ไปเล่นการพนัน ให้ไปลักขโมย ให้กินยาบ้า ให้เสพยา ชวนไปฉุดคร่าอนาจาร เป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นพาล

   ๒. ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ อาทิเช่น ไม่ทำงานตามหน้าที่ของตนให้เรียบร้อย แต่กลับชอบจะไปก้าวก่ายยุ่งกับหน้าที่การงานของผู้อื่น หรือไปจับผิดเพื่อนร่วมงาน แกล้ง ยุยง นินทาว่าร้ายกันและกัน เป็นต้น

   ๓. ชอบทำผิดโดยเห็นสิ่งผิดเป็นของดี อาทิเช่น การสูบยาได้เป็นฮีโร่ เห็นคนที่ซื่อสัตย์เป็นคนโง่ไม่กินตามน้ำ ชอบรับสินบน ทุจริตในหน้าที่ หรือช่วยพวกพ้องให้พ้นจากความผิด เป็นต้น

   ๔. จะโกรธเคืองเมื่อพูดเตือน อาทิเช่น การเตือนเรื่องการเที่ยวเตร่ เตือนเรื่องการดื่มเหล้า กลับบ้านดึก เตือนเรื่องการคบเพื่อนเป็นต้น คนพวกนี้จะโกรธเมื่อได้รับการตักเตือน และไม่รับฟัง


   ๕. ไม่มีระเบียบวินัย อาทิเช่น ไม่เข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง แต่ชอบแซงคิวอย่างหน้าด้านๆ ทิ้งขยะลงคลอง หรือข้างทาง ไม่เคารพกฏหมายของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่น เป็นต้น

วิธีขอพรและเสกปากกาก่อนใช้สอบหรือทำเอกสารสำคัญ

วิธีขอพรและเสกปากกาก่อนใช้
            นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ทุกท่าน และอธิษฐานเรื่องที่ปรารถนา(ว่าจะนำปากกานี้ไปใช้สอบในวิชา...วันที่...สถานที่...ขอให้ได้ดังที่ตั้งใจไว้...ฯลฯ) แล้วตั้งนะโม ๓ จบ

ท่อง นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ นาลาอะระหัง นะเมติ ๑๒ จบ แล้วเอาปากกานั้นไปสอบ ถ้าจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ควรเตรียมกรวยใบตอง ๕ กรวย แต่ละกรวยใส่ดอกไม้สีแดง ๕ ดอก ธูป ๕ เทียน ๕ ใส่พานพร้อมปากกาแล้วทำตามที่บอกไว้ข้างต้น จะได้ผลดีเป็นพิเศษ


คำอธิษฐานเมื่อไปถึงสถานที่สอบ(ถ้าจะให้ดีให้อธิษฐานหน้าศาลเจ้าที่ของบริเวณนั้น)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )
พุทโธ ธัมโม สังโฆ หลวงพ่อ สพฤกษ์(สบ-พะ-เริก) ปภัสสโร นะโมพุทธายะ ๓ จบ
ขออำนาจของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญของข้าพเจ้าประมวลรวมกับบุญที่ได้จาก การอนุโมทนาบุญกับองค์สมเด็จพระวิสุทธิพุทธรังสีบรมธรรมบิดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม และทุกๆท่านบนพระนิพพาน แผ่ไปกับแสงทิพย์อริยทรัพย์และแสงฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการ ให้ถึงแก่เทวดารักษาตัวข้าพเจ้าและเทวดาที่อยู่ ณ สถานที่แห่งนี้และสถานที่ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการสอบของข้าพเจ้า เสด็จปู่พระอินทร์ ท้าวจตุรมหาราช ท้าวจตุรมหาพรหม และท่านอินทกะทั้งสี่พันองค์ ขอให้ท่านช่วยดลใจข้าพเจ้าให้สามารถทำข้อสอบได้ถูกต้อง แม้จะคาดเดาก็ให้คาดเดาได้อย่างแม่นยำ ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจและสอบติดใน คณะ.....สาขา....มหาวิทยาลัย.......ปีการศึกษา......นี้ด้วย และด้วยบุญนี้เมื่อข้าพเจ้าจะทำการสิ่งใดจงพบแต่คำว่าได้ มี สำเร็จ สมหวัง ดังที่ใจปรารถนาทุกประการเทอญ

มัยหังปุตโต ปุญญะวากะตา ภินิหาโร ภะวิสสะติ เทวะตะหิ ปาติง ปูเรตะวา ปูวาปะหิตา ภะวิสสะตีติ...

รวมคำอธิษฐานหลังทำบุญ

อธิษฐานเปิดบุญ(ท่องต่อบทแรก)
ขออำนาจของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญข้าพเจ้า ให้เปิดโอกาสแก่เทวดารักษาตัวข้าพเจ้าและรักษาที่อยู่อาศัย  ญาติของข้าพเจ้า นายเวรของข้าพเจ้า เหล่าเชื้อโรค ผีเชื้อโรคในร่างกายข้าพเจ้า พวกเชื้อโรคที่ออกจากร่างกายข้าพเจ้า ดวงวิญญาณทั้งหลายให้อธิษฐานเอาบุญของข้าพเจ้าได้

ถ้าเจ็บตรงไหนให้อธิษฐานเฉพาะที่ว่า
ขออำนาจของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญข้าพเจ้า ให้ผู้ที่ทำให้เจ็บ.........อยู่นี้.(หรือ ให้แก่นายเวร เหล่าเชื้อโรคและผีเชื้อโรคใน.......)
อธิษฐานก่อนนอน
ขออำนาจของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลให้เหล่าเทพเทวาที่เป็นญาติข้าพเจ้า จงได้ยินเสียงข้าพเจ้าในเวลานี้  ขอให้ท่านทั้งหลายจงไปนำเทพที่เป็นหมอมาตรวจรักษาข้าพเจ้าในเวลาที่ข้าพเจ้าหลับด้วย ข้าพเจ้าจะเปิดโอกาสไว้  ข้าพเจ้ามีอาการ.............เมื่อข้าพเจ้ามีอาการดีขึ้น ข้าพเจ้าจะทำบุญให้แก่พวกท่านยิ่งๆขึ้นไป
เมื่ออาการดีขึ้นให้อธิษฐานดังนี้
ขออำนาจของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญข้าพเจ้า ให้เปิดโอกาสแก่ผู้ที่นำหมอเทพมารักษาข้าพเจ้า รวมถึงหมอเทพที่มารักษาข้าพเจ้าและพวกเชื้อโรคที่ออกจากร่างกายข้าพเจ้า ให้อธิษฐานเอาบุญของข้าพเจ้าได้
คำอธิษฐานขอให้เทวดาช่วย
ขออำนาจของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลให้เหล่าเทพเทวาที่เป็นญาติข้าพเจ้า จงได้ยินเสียงข้าพเจ้าในเวลานี้  ขอให้ท่านทั้งหลายจงไปนำ............................(อยากให้ช่วยเรื่องอะไรก็บอกไป เช่น นำคนมาซื้อของในร้าน นำคนมาอุปถัมภ์ข้าพเจ้า ) เมื่อข้าพเจ้าได้ในสิ่งที่ต้องการแล้ว ข้าพเจ้าจะทำบุญให้แก่พวกท่านยิ่งๆขึ้นไป
ใช้อธิษฐานขณะทำบุญ(ต้องอธิษฐานทันทีเมื่อทำบุญไม่เกิน 3 วินาทีที่ของปล่อยจากมือ แต่อธิษฐานได้ต่อเนื่อง)
บุญนี้ให้แก่เทวดารักษาตัวข้าพเจ้าที่ขีดเส้นใต้อาจเปลี่ยนเป็น เจ้าที่ในสถานที่สอบ เจ้าที่ในโรงเรียนของข้าพเจ้า เทวดาที่รักษาคณะ...  ฯลฯ
แต่ถ้าเป็นแบบเฉพาะกิจ เน้นเรื่องสอบอย่างเดียวก็ใช้ว่า
ขออำนาจของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญข้าพเจ้า ให้ถึงแก่เทวดารักษาตัวข้าพเจ้าและเทวดาผู้เกี่ยวข้องกับการสอบของข้าพเจ้าทุกๆสถานที่และทุกๆบุคคล  นายเวรของข้าพเจ้า เหล่าภูตผี ปีศาจ ปอบ เปรต นาค ครุฑ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ อสูร ยักษ์ มาร เหล่าเชื้อโรค ผีเชื้อโรคในร่างกายข้าพเจ้า ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งปวงทุกดวงจิตที่จะมาเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าในช่วงที่ข้าพเจ้าสอบ ขอบุญนี้จงเป็นของพวกท่านโดยถ้วนทั่วเทอญ
อธิษฐานก่อนนอน(ในกรณีจะสอบ)
ขออำนาจของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลให้เหล่าเทพเทวาที่เป็นญาติข้าพเจ้า จงได้ยินเสียงข้าพเจ้าในเวลานี้  ขอให้ท่านทั้งหลายจงไปนำเทพที่เป็นผู้ทรงวิชาความรู้ต่างๆมาสั่งสอน ทบทวนและสะสมในดวงจิตข้าพเจ้าในเวลาที่ข้าพเจ้าหลับด้วย ข้าพเจ้าจะเปิดโอกาสไว้  และขอให้ข้าพเจ้ามีความรู้ที่จะใช้ในการสอบสามารถตอบข้อสอบได้อย่างแม่นยำ เมื่อข้าพเจ้าประสบผลสำเร็จในการสอบ ข้าพเจ้าจะทำบุญให้แก่พวกท่านยิ่งๆขึ้นไป

คำอธิษฐานบุญ

คำอธิษฐานบุญ

(ท่องทุกวันให้มากที่สุด)

              ขออำนาจของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญข้าพเจ้า ให้ถึงแก่เทวดารักษาตัวข้าพเจ้าและเทวดาผู้เกี่ยวข้องทั่วไป  ญาติของข้าพเจ้า นายเวรของข้าพเจ้าที่เดินทางมาถึงในขณะนี้ เหล่าสัมมาทิฐิทั้งหลาย นาค ครุฑ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ เหล่าเชื้อโรค ผีเชื้อโรคในร่างกายข้าพเจ้า ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งปวงทุกดวงจิตที่เกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าขอบุญนี้จงเป็นของพวกท่านโดยถ้วนทั่วเทอญ

คาถารวมจิต

คาถารวมจิต
อิติ สัมมาสัมพุทธัสสะ มะมะ จิตตัง


เวลานั่งภาวนาแล้วฟุ้งซ่านให้ใช้คาถานี้ท่อง
แทนคำภาวนาอื่นๆ

พระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชร

ตั้งนะโมฯ ๓ จบ
     ปุตตะกาโมละเภปุตตัง      ธะนะกาโมละเภธะนัง
     อัตถิกาเยกายะญายะ           เทวานังปิยะตังสุตตะวา
      อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
      มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
ชะยาสะนากะตา พุทธา           เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง             เย ปิวิงสุ นะราสะภา
ตัณหังกะราทะโย พุทธา         อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง          มัตถะเก เต มุนิสสะรา
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง             พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโตมัยหัง           อุเร สัพพะคุณากะโร
หะทะเย เม อะนุรุทโธ            สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง     โมคคัลลาโน จะ วามะเก
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง            อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม         อุภาสุง วามะโสตะเก
เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง             สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน             โสภิโต มุนิปุงคะโว
กุมาระกัสสะโป เถโร              มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง          ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ            อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา            นะลาเฏ ติละกา มะมะ
เสสาสีติ มะหาเถรา                วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา                 ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเต เชนะ           อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
ระตะนัง ปุระโต อาสิ             ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ          วาเม อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ            เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินาอาณา วะระสังยุตตา       สัตตะปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา           พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
อะเสสา วินะยัง ยันตุ             อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ         สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ          วิหะรันตัง มะฮีตะเล
สะทา ปาเลน ตุมัง สัพเพ       เต มะหาปุริสาสะภา
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข  
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ      
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จารามิ ชินะปัญชะเรติฯ

(บทย่อ : ชินะปัญชะระปะริตตัง มัง รักขะตุ สัพพะทา )

คำอุทิศส่วนกุศล

คำอุทิศส่วนกุศล 

             อิทัง ปุญญะ พะลัง
             ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี  ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งจงโมทนาในส่วนกุศลนี้ และขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
              และข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ มีท่านปู่พระยายมราช ท่านปู่ท้าวมหาราชทั้งสี่ ขอท่านปู่พระยายมราช ท่านปู่ท้าวมหาราชทั้งสี่ และเทพเจ้าทั้งหลายได้โปรดโมทนาส่วนกุศลนี้และขอจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
              ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี ที่เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์และความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
               ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากขณะใดก็ตามที่ข้าพเจ้ายังทรงกายขันธ์ห้า อยู่นี้ ขอคำว่าไม่มี จงอย่าปรากฏกับข้าพเจ้าและครอบครัวของข้าพเจ้านับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานเทอญ

บทแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง

แผ่เมตตาให้แก่ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ                                ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ                           ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ                              ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ                       ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรค
                        อันตรายทั้งปวง
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ                   ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ   รักษา กายวาจา ใจให้พ้นจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด



โพชฌงค์ ๗ ประการ( โพชฌังคปริตร)

       โพชฌังคปริตร
โพชฌังโค สะติสังขาโต      ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ                 โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา          สัตเตเต สัพพะทัสสินา
มุนินา สัมมะทักขาตา                 ภาวิตา พะหุลีกะตา
สังวัตตันติ อะภิญญายะ        นิพพานายะ จะ โพธิยา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ         โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
เอกัสมิง สะมะเย นาโถ     โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา          โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
เต จะ ตัง อะภินันทิตวา          โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ          โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
เอกะทา ธัมมะราชาปิ               เคลัญเญนาภิปีฬิโต
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ          ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
สัมโมทิตวา จะ อาพาธา            ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ            โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ปะหีนา เต จะ อาพาธา             ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
มัคคาหะตะกิเลสาวะ               ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ          โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
**************************************
     

บทแปล
โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน

ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก จึงทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม โรคก็หายได้ในบัดดล


ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ.

พระคาถา อุณหิสสะวิชะยะ พุทธานุภาพมาก ในเรื่องของการมีอายุยืนยาวและยังทำให้สุขภาพแข็งแรง


พระคาถา อุณหิสสะวิชะยะ
   
อัตถิ อุณหิสสะ วิชะโย      ธัมโม โลเก อะนุตตะโร
สัพพะสัตตะหิตัตถายะ          ตังตวังคัณหาหิ เทวะเต
ปะริวัชเช ระชะทัณเฑ            อะมะนุสเสหิ ปาวะเก
พะยัคเฆ นาเค วิเส ภูเต          อะกาละมะระเณนะ วา
สัพพัสมา มะระณา มุตโต      ฐะเปตวา กะละมาริตัง
ตัสเสวะ อานุภาเวนะ             โหตุ เทโว สุขี สะทา
สุทธะ สีลัง สะมาทายะ          ธัมมัง สุจะริตัง จะเร
ตัสเสวะ อานุภาเวนะ             โหตุ เทโว สุขีสะทา
ลิกขิตัง จินติตัง ปูชัง              ธาระนัง วาจะนัง คะรุง
ปะเรสัง เทสะนังสุตวา           ตัสสะ อายุ ปะวัฑฒะตีติ.
บทแปล พระคาถาบทนี้ อยู่ในสมัยพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเมตตาให้เทวดาองค์หนึ่งที่กำลังหมดอายุขัย จะต้องลงไปเสวยกรรมในนรก แต่เทวดาองค์นี้ มีความกลัวมากที่จะต้องลงไปเกิดใน เมืองนรกจึงดิ้นรนทุกวิถีทาง ที่จะไม่ไปแต่ก็ไม่มีใครจะช่วยเหลือได้ แม้แต่องค์ พระอินทร์ แต่ยังโชคดีที่ได้พบพระพุทธเจ้า และทรงแนะให้ภาวนาคาถาบทนี้ จะได้มีอายุยืนยาวนานต่อไป เพื่อที่จะได้ใช้เวลาที่เหลืออยู่นี้ บำเพ็ญภาวนา ใช้หนี้กรรมที่มีอยู่ ให้หมดไป
พระคาถาบทนี้ จึงมีพุทธานุภาพมาก ในเรื่องของการมีอายุยืนยาวและยังทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยอย่างง่าย ๆ อีกด้วย ผู้ที่มีสุขภาพไม่ดี หรือขี้
โรค หรือป่วยเป็นโรคที่รักษายากแล้ว ควรหมั่นท่องภาวนาเป็นประจำ

จะหายได้โดยเร็ววัน                    

บทสวดชุมนุมเทวดา

ชุมนุมเทวดา

(ถ้าจะสวดเจ็ดตำนานใช้บทนี้)
ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ, ผะริต์วานะ  เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา,
อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ. 
 (ถ้าจะสวดสิบสองตำนานใช้บทนี้)
 สะมันตา จักกะวาเฬสุ       อัต์ราคัจฉันตุ เทวะตา,
สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ        สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง
 (บทสวดต่อไปนี้เหมือนกัน)
       สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน, ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุม์หิ เขตเต. ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา, ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ.
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
(หมายเหตุใช้สวดในวัด)
พุทธัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

สังฆะปะยิรุปาสะวะนะกาโล  อะยัมภะทันตา.